เกี่ยวกับฉัน

รูปภาพของฉัน
นักศึกษาเอกคณิตศาสตร์ วิทยาลัยการฝึกหัดครู

วันศุกร์ที่ 27 สิงหาคม พ.ศ. 2553

มีทฤษฎีอะไรบ้างที่เกี่ยวกับการเรียนรู้ และแต่ละทฤษฎีเป็นอย่างไร

2. มีทฤษฎีอะไรบ้างที่เกี่ยวกับการเรียนรู้ และแต่ละทฤษฎีเป็นอย่างไร

1. ทฤษฎีการเรียนรู้ของธอร์นไดค์ Thorndike
1. กฎแห่งความพร้อม Law of Readiness หมายถึง สภาพความพร้อมหรือวุฒิภาวะของผู้ทั้งทางร่างการ อวัยวะต่างๆ ในการเรียนรู้และจิตใจ รวมทั้งพื้นฐานและประสบการเดิม สภาพความพร้อมของหูตา ประสาทสมองและกล้ามเนื้อ ที่จะเชื่อมโยงความรู้ใหม่หรือสิ่งใหม่ ตลอดจนความสนใจ ความเข้าใจต่อสิ่งที่เห็น ถ้าผู้เรียนมีความพร้อมตามองค์ประกอบต่างๆ ดังกล่าวจะทำให้ผู้เรียนเกิดความเรียนรู้ได้
2.กฎแห่งการฝึกหัด Law of Exercise หมายถึง การเรียนที่ได้ฝึกหัดหรือการกรทำซ้ำๆ บ่อยๆ ย่อมจะทำให้เกิดความสมบูรณ์ถูกต้อง ซึ่งกฎนี้เป็นการเน้นความมั่นคงระหว่างการเชื่อมโยง และการตอบสนองที่ถูกต้องย่อมนำมาเพื่อความสมบูรณ์
3. กฎแห่งความพอใจ Law of Effect กฎนี้เป็นผลทำให้เกิดความพอใจ กล่าวคือเมื่ออินทรีย์ได้รับความพอใจ จะทำให้สิ่งเชื่อมโยงแข็งมั่นคง ในทางกลับกันหากอินทรีย์ได้รับความไม่พอใจจะทำให้พันธะหรือสิ่งเชื่อมโยงระหว่างสิ่งเร้ากับการตอบสนองอ่อนกำลังลง หรืออาจกล่าวได้ว่าหากอินทรีย์ได้รับความพอใจจากผลของการทำกิจกรรม ก็จะเกิดผลดีกับการเรียนรู้ทำให้อินทรีย์อยากเรียนรู้เพิ่มขึ้นอีก ในทางตรงกันข้ามหากอินทรีย์ได้รับผลไม่พอใจก็จะทำให้ไม่อยากเรียนรู้หรือเบื่อหน่ายและเป็นผลเสียต่อการเรียนรู้

2.ทฤษฎีการเรียนรู้ของกาเย่
กาเย่ Gagne ได้เสนอหลักที่สำคัญเกี่ยวกับการเรียนรู้ว่า ไม่มีทฤษฎีหนึ่งหรือทฤษฎีใดสามารถอธิบายการเรียนรู้ของบุคคลใดได้สมบูรณ์ ดังนั้นกาเย่ จึงได้นำทฤษฎีการเรียนรู้แบบสิ่งเร้าและการตอบสนอง S-ATheory กับทฤษฎีความรู้ Congnitive Field มาผสมผสานกันในลักษณะของการจัดลำดับการเรียนรู้ดังนี้
1. การรียนรู้แบบสัญญาณ Snnal Learning เป็นการเรียนรู้แบบวางเงื่อนไข เกิดจากความใกล้ชิดของสิ่งเร้าและการกระทำซ้ำผู้เรียนไม่สามารถควบคุมพฤติกรรมของตนเอง
2. การเรียนรู้แบบตอบสนอง S-R Learning คือการเรียนรู้ที่ผู้เรียนสามารถควบคุมพฤติกรรมนั้นได้ การตอบสนองเป็นผลมาจากการเสริมแรงกับโอกาสการกระทำซ้ำหรือฝึกฝน
3. การเรียนรู้แบบลูกโซ่ Chainig Learning คือการเรียนรู้อันเนื่องมาจากการเชื่อมโยงสิ่งเร้ากับการตอบสนองติดต่อกันเป็นการต่อเนื่อง โดนเป็นพฤติกรรมที่เกี่ยวกับการเคลื่อนไหว เช่น การขับรถ การใช้เครื่องมือ
4. การเรียนรู้แบบการจำแนก Discrimination Learning ได้แก่ การเรียนรู้ที่ผู้เรียนสามารถมองเห็นความแตกต่างสามารถเลือกตอบสนองได้
5. การเรียนรู้แบบภาษาสัมพันธ์ Verbal Association Learning มีลักษณะเช่นเดียวกับการเรียนรู้แบบลูกโซ่ หากแต่ใช้ภาษาหรือสัญลักษณ์แทน
6. การเรียนรู้มโนทัศน์ Concept Learning ได้แก่การเรียนรู้อันเนื่องมาจากความสามารถในการตอบสนองสิ่งต่างๆในลักษณะที่เป็นส่วนร่วมของสิ่งนั้น เช่น วงกลม ประกอบด้วยมโนทัศน์ย่อยที่เกี่ยวกับ ส่วนโค้ง ระยะทาง ศูนย์กลาง เป็นต้น
7. การเรียนรู้กฎ Principle Learning เกิดจากความสามารถเชื่อมโยงมโนทัศน์เข้าด้วยกันสามารถนำไปตั้งเป็นกฎเกณฑ์ได้
8. การเรียนรู้แบบปัญญา Problem Selving ได้แก่การเรียนในระดับที่ผู้เรียนสามารถรวมกฎเกณฑ์ รู้จักแสวงหาความรู้ รู้จักสร้างสรรค์ นำความรู้ไปแก้ไขสถานการณ์ต่างๆ ได้จากลำดับการเรียนรู้นี้แสดงให้เห็นว่าพฤติกรรมการเรียนรู้แบบต้นๆจะเป็นพื้นฐาน

3. ทฤษฎีการเรียนรู้แบบนีโอฮิวแมนนิส
เชื่อว่าแนวคิดนี้จะพัฒนาให้คนสมบูรณ์ โดนเน้นดานร่างกาย จิตสำนึก จิตใต้สำนึก และจิตเหนือสำนึก นั่นถือเด็กจะต้องมีร่างกายสมบูรณ์แข็งแรงสวยงาม ด้วยการส่งเสริมให้ออกกำลังกาย รวมถึงการพัฒนาด้านอารมณ์และสติปัญญาควบคู่ไปด้วย เพื่อไปให้ถึงเป้าหมายความเป็นคนที่สมบูรณ์ กิจกรรมของนีโอฮิวแมนนิสจะต้องสอดคล้องกับหลัก 4 ข้อ คือ คลื่นสมอง การประสานของเซลล์สมอง ภาพพจน์ต่อตนเอง และการให้ความรัก

4. ทฤษฎีการเรียนรู้แบบวอลดอร์ฟ
เน้นการศึกษาเรื่องมนุษย์และเชื่องดยงกับโลกและจักวาล การเชื่อมโยงทุกเรื่องกับมนุษย์ไม่ใช่มนุษย์ยึดตนเอง แต่เป็นการสอนให้มนุษย์รู้จักจุดยืนที่สมดุลของตนในโลกมนุษย์ ปรัชญาเน้นความสำคัญของการสร้างความสมดุลใน 3 วิถีทาง คือ กาย ใจและสติปัญญา ของเด็กที่แตกต่างกันตามวัย ดังนั้น การศึกษาของเด็กปฐมวัยจึงยึดหลักการทำซ้ำ เด็กควรได้มีโอกาสทำสิ่งต่างๆ ซ้ำแล้วซ้ำเล่าจนการกระทำนั้นซึมลงลึกไปในกายและจิตใจจนเป็นนิสัย

5. ทฤษฎีการเรียนรู้แบบมอนเตสซอรี่
จุดเด่นของมอนเตสซอรี่ คือการให้เด็กเรียนรู้ผ่านอุปกรณ์ที่จัดเตรียมไว้ อุปกรณ์แต่ละชิ้นมี่จุดมุ่งหมายการใช้เฉพาะทุกชิ้นผ่านการพิสูจน์แล้วว่าเด็กชอบ สนใจ และเหมาะแก่การพัฒนาการในแต่ละช่วงวัยของเด็กคลอบคลุกหลักสูตรพื้นฐานสำหรับเด็กวัย 3-6 ปี ที่มอนเตสซอรี่ที่กำหนดไว้ 3 กลุ่มหลักคือ การจัดการศึกษาทางด้านทักษะกลไก การศึกษาทางด้านประสาทสัมผัส และการเตรียมสำหรับการเขียนและคณิตศาสตร์

6. ทฤษฎีการเรียนรู้แบบ Bloom (Bloom’ Taxonomy)
Bloom ได้แบ่งการเรียนรู้เป็น 6 อันดับ
· ความรู้ที่เกิดจากความจำ knowledge
· ความเข้าใจ Comprehend
· การประยุกต์ Application
· การวิเคราะห์ Analysis สามารถแก้ปัญหาตรวจสอบได้
· การสังเคราะห์ Synthesis สามารถนำส่วนต่างๆ มาประกอบเป็นรูปแบบใหม่ได้ใช้ให้แตกต่างจากรูปแบบเดิม เน้นโครงสร้างใหม่
· การประมาณค่า Evaluation วัดได้และตัดสินได้ว่าอะไรถูกอะไรผิด ประกอบการตัดสินใจบนพื้นฐานของเหตุผลและเกณฑ์ที่แน่ชัด

7. ทฤษฎีการเรียนรู้ของบรูเนอร์ Bruner
· ความรู้ถูกสร้างหรือหล่อหลอมโดยประสบการณ์
· ผู้เรียนมีบทบาทรับผิดชอบในการเรียน
· ผู้เรียนเป็นผู้สร้างความหมายขึ้นมาจากแง่มุมต่างๆ
· ผู้เรียนอยู่ในสภาพแวดล้อมที่เป็นจริง
· ผู้เรียนเลือกเนื้อหาและกิจกรรมเอง
· เนื้อหาควรถูกสร้างในภาพรวม

8. ทฤษฎีการเรียนรู้ของไทเลอร์ Taylor
· ความต่อเนื่อง Continuity หมายถึง ในวิชาทักษะต้องเปิดโอกาสให้มีการฝึกทักษะในกิจกรรมและประสบการณ์บ่อยๆ และต่อเนื่องกัน
· การจัดช่วงลำดับ Sequence หมายถึง การจัดสิ่งที่มีความง่ายไปสู่สิ่งที่มีความยาก ดังนั้นการจัดกิจกรรมและประสบการณ์ให้มีการเรียงลำดับก่อนหลังเพื่อให้ได้เรียนเนื้อหาที่ลึกซึ่งยิ่งขึ้น
· บูรณาการ Integration หมายถึง การจัดประสบการณ์จึงควรเป็นในลักษณะที่ช่วยให้ผู้เรียนได้เพิ่มพูนความรู้ ความคิดเห็นและได้แสดงพฤติกรรมที่สอดคล้องกันเนื้อหาที่เรียนเป็นการเพิ่มความสามารถทั้งหมดของผู้เรียนที่จะได้ใช้ประสบการณ์ในสถานการณ์ต่างๆกัน ประสบการณ์การเรียนรู้จึงเป็นแบบแผนปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้เรียนกับสถานการณ์ที่แวดล้อม

9. ทฤษฎีการเรียนรู้ของเมเยอร์ Mayor
ในการออกแบบสื่อการเรียนการสอน การวิเคราะห์ความจำเป็นสิ่งสำคัญและตามด้วยจุดประสงค์ของการเรียนโดยแบ่งออกเป็นย่อยๆ 3 ส่วนด้วยกัน
· พฤติกรรม ควรชี้ชัดและสังเกตได้
· เงื่อนไข พฤติกรรมสำเร็จได้ควรมีเงื่อนไขในการช่วยเหลือ
· มาตรฐาน ติกรรมที่ได้นั้นควรอยู่ในเกณฑ์ที่กำหนด

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น