เกี่ยวกับฉัน

รูปภาพของฉัน
นักศึกษาเอกคณิตศาสตร์ วิทยาลัยการฝึกหัดครู

วันจันทร์ที่ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2553

รูปแบบสื่อหลายมิติในการเรียนการสอนประกอบด้วยอะไรบ้าง

10. รูปแบบสื่อหลายมิติในการเรียนการสอนประกอบด้วยอะไรบ้าง

( เกษม ก้อนทอง ; 2549 : 135) สื่อหลายมิตินั้นเป็นสื่อผสมที่นำมาพัฒนาจากข้อความมิติ ซึ่งแนวคิดเกี่ยวข้องกับข้อความหลายมิติ hypertext นี้มีมานานหลายสิบปีแล้ว โดยแวนนิวาร์บุช Vannevar Bush เป็นผู้ที่มีความคิดริเริ่มเกี่ยวกับเรื่องนี้ โดยเขากล่าวว่าน่าจะมีเครื่องมืออะไรสักอย่างที่ช่วยในเรื่อง ความจำและความคิดของมนุษย์ที่จะช่วยให้เราสืบค้นและเรียกใช้ข้อมูลจากคอมพิวเตอร์ได้ หลายๆข้อมูลในเวลาเดียวกัน เหมือนกับที่คนเราสามารถคิดเรื่องต่างๆ ได้หลายเรื่องในเวลาเดียวกัน
ข้อความหลายมิติ Hypertext หรือข้อความหลายมิติ คือเทคโนโลยีของการอ่าน และการเขียนที่ไม่เรียงลำดับเนื้อหา โดยเสนอในลักษณะของข้อความที่เป็นตัวอักษร หรือข้อความภาพกราฟิกอย่างง่ายที่มีการเชื่อมโยงถึงกัน เรียกว่า “จุดต่อ” node โดยผู้ใช้สามารถเคลื่อนที่จากจุดต่อเนื่องไปยังอีกจุดต่อหนึ่งได้โดยการเชื่อมโยงจุดต่อเหล่านี้

ข้อความหลายมิติ เป็นระบบย่อยของสื่อหลายมิติ คือเป็นการนำเสนอสารสนเทศที่ผู้อ่านไม่จำเป็นต้องอ่านเนื้อหาในมิติเดียวกันในแต่ละบทตลอดทั้งเล่ม โดยผู้อ่านสามารถข้ามไปอ่านหรือค้นคว้าข้อมูลที่สนใจตอนใดก็ได้ โดยไม่ต้องเรียงลำดับลักษณะข้อความ ข้อความหลายมิติอาจเปรียบเทียบได้เสมือนกับบัตรหรือแผ่นฟิล์มใส หลายๆแผ่นที่วางซ้อนกันเป็นชั้นๆ ในแต่ละแผ่นจะบรรจุข้อมูลแต่ละอย่างลงไว้

( กิดานันท์ มลิทอง ; 2540 : 269 ) กล่าวไว้ว่า สื่อหลายมิติเป็นการขยายแนวความคิดของข้อความหลายมิติในเรื่องการนำเสนอข้อมูลในลักษณะไม่เป็นเส้นตรง และเพิ่มความสามารถในการบรรจุข้อมูลในลักษณะของภาพเคลื่อนไหวแบบวีดีทัศน์ ภาพกราฟิกในลักษณะภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหว ภาพถ่าย เสียงพูด เสียงดนตรี เข้าไว้ในเนื้อหาด้วย เพื่อให้ผู้เรียนเข้าถึงเนื้อหาเรื่องราวได้หลายรูปแบบมากกว่าเดิม
สื่อหลายมิติในการเรียนการสอน

การนำเสนอเนื้อหาข้อความหลายมิติและสื่อหลายมิติเป็นการนำเสนอเนื้อหาในลักษณะกรอบความคิดแบบใยแมงมุม ซึ่งเป็นกรอบความคิดที่เชื่อว่าจะมีลักษณะที่คล้ายคลึงกับวิธีที่มนุษย์จัดระบบความคิดภายในจิตใจ ดังนั้น ข้อความหลายมิติและสื่อหลายมิติจึงทำให้สามารถคัดลอกและจำลอกเครือข่ายโยงใยความจำของมนุษย์ได้ การใช้ข้อความหลายมิติและสื่อหลายมิติในการเรียนการสอนจึงช่วยผู้สอนได้

สื่อประสม คืออะไร

9. สื่อประสม คืออะไร
ในการใช้สื่อการสอนต่างๆเหล่านี้ไม่ว่าจะเป็นสื่อชนิดใดหรือประเภทใดก็ตาม ผู้สอนอาจจะใช้สื่อเพียงครั้งละอย่างเดียวหรืออาจใช้สื่อร่วมกันหลายๆอย่าง ในรูปแบบของ “สื่อประสม” Multimedia ก็ได้ ในการใช้สื่อประสมนี้เป็นการนำสื่อประเภทต่างๆมาใช้ร่วมกันโดยอาจเป็นการใช้กับผู้เรียนกลุ่มใหญ่ กลุ่มย่อยหรือในการศึกษารายบุคคล การใช้สื่อประสมนี้โดยทั่วไปแล้วจะใช้สื่อแต่ละอย่างเป็นขั้นตอนไปแต่ในบางครั้งก็อาจใช้สื่อหลายชนิดพร้อมกันได้ ในปัจจุบันได้มีการนำวัสดุมาผลิตเป็นชุดสื่อประสมโดยผลิตขึ้นตามขั้นตอนการใช้ระบบสอนโดยจัดเป็น “ชุดการสอน”Teaching Package

( สถาพร ไมตรีจิตร์ ; 2540 : 215 ) ได้สรุปว่า สื่อประสมมีลักษณะเป็นอย่างไรและประกอบด้วนสื่ออะไรบ้างนั้นย่อมขึ้นอยู่กับจุดมุ่งหมายของบทเรียนและวัตถุประสงค์ของการใช้ โดยทั่วไปแล้วแล้วชุดสื่อประสมจัดอยู่ในกล่องหรือแฟ้มซึ่งประกอบด้วย
· คู่มือ สำหรับผู้สอนในการใช้ชุดการสอนและสำหรับผู้สอนในชุดการเรียน
· คำสั่ง เพื่อกำหนดแนวทางในการสอนหรือการเรียน
· เนื้อหาบทเรียน
· กิจกรรมการสอน
· แบบทดสอบ

( อีริคสัน ; 1971 ) ได้แสดงความหมายว่า “สื่อประสม” เป็นการนำสิ่งหลายๆ อย่างมาใช้ร่วมกันอย่างมีความสัมพันธ์มีคุณค่าและส่งเสริมซึ่งกันและกัน สื่อการสอนอย่างหนึ่งอาจใช้เพื่อเร้าความสนใจ ในขณะที่อีกอย่างหนึ่งใช้เพื่ออธิบายขอเท็จจริงของเนื้อหาและอีกชนิดหนึ่งอาจใช้เพื่อก่อให้เกิดความสนใจที่ลึกซึ่ง และป้องกันการเข้าใจความหมายผิดๆการใช้สื่อประสมจะช่วยให้ผู้เรียนมีประสบการณ์จากประสาทสัมผัสที่ผสมผสานกัน

( เทคโนโลยีการศึกษาและการศึกษา : 18-19 ) ได้ให้ความหมายว่า “สื่อประสม” หมายถึงการนำเอาสิ่งหลายๆประเภทมาใช้ร่วมกันทั้งวัสดุ อุปกรณ์และวิธีการเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงสุดในการเรียนการสอน โดยการใช้สื่อแต่ละอย่างตามลำดับขั้นตอนของเนื้อหาและในปัจจุบันมีการนำคอมพิวเตอร์มาใช้ร่วมด้วยเพื่อการผลิตหรือควบคุมการทำงานของอุปกรณ์ต่างๆ ในการเสนอข้อมูลทั้งตัวอักษร ภาพกราฟิก ภาพถ่ายภาพเคลื่อนไหวแบบวีดีทัศน์ และเสียง จากความหมายของคำว่าสื่อประสม นักเทคโนโลยีทางการศึกษาได้แบ่งสื่อประสมออกเป็น 2 กลุ่ม คือ
· สื่อประสม Multimedia 1 เป็นสื่อประสมที่ใช้โดยการนำสื่อหลายประเภทมาใช้ร่วมกันในการเรียนการสอน เช่น นำวีดีทัศน์มาประกอบการบรรยายของผุ้สอนโดยตีสื่อสิ่งพิมพ์ประกอบด้วย หรือการใช้ชุดการเรียนหรือชุดการสอน การใช้สื่อประสมประเภทนี้ผู้เรียนและสื่อจะไม่มีปฏิสัมพันธ์โต้ตอบกันและจะมีลักษณะเป็น “สื่อหลายแบบ”
· สื่อประสม Multimedia 2 เป็นสื่อประสมที่ใช้คอมพิวเตอร์เป็นฐานในการนำเสนอสารสนเทศหรือการผลิตเพื่อเสนอข้อมูลประเภทต่างๆ เช่น ภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหว ตัวอักษรและเสียง ในลักษณะของสื่อหลายมิติ โดยที่ผู้ใช้มีการโต้งตอบกับสื่อโดยตรง
สื่อประสม หมายถึง การนำเอาสื่อหลายๆ ประเภทมาใช้ร่วมกัน ทั้งวัสดุ อุปกรณ์และวิธีการเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงสุดในการเรียนการสอน ซึ่งสื่อรูปแบบต่างๆ ประกอบด้วย ข้อความอักขะ ภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหวและเสียง เพื่อการศึกษาสารสนเทศที่นำเสนอด้วยคอมพิวเตอร์เพื่อให้ผู้ใช้สามารถรับรู้ได้หลากหลายแบบวิธี ซึ่งสื่อประสมก็เป็นการรวบรวมข้อมูลเนื้อหาเข้าด้วยกันเป็นไฟล์

สื่อการสอน คืออะไร

8. สื่อการสอน คืออะไร
สื่อการสอนนับการมีบทบาทมากในการเรียนการสอนนับแต่ในอดีตจนถึงปัจจุบัน เนื่องจากเป็นตัวกลางที่ช่วยให้การสื่อสารระหว่างผู้สอนและผู้เรียนดำเนินการไปอย่างมีประสิทธิภาพทำให้ผู้เรียนมีความเข้าใจความหมายของเนื้อหาบทเรียนได้ตรงกับที่ผู้สอนต้องการไม่ว่าสื่อจะเป็นสื่อในรูปแบบใดก็ตามล้วนแต่เป็นทรัพยากรที่สามารถอำนวยความสะดวกในการเรียนรู้ได้ทั้งสิ้น ในการใช้สื่อการสอนนั้นผู้สอนจำเป็นต้องศึกษาถึงลักษณะเฉพาะและคุณสมบัติของสื่อแต่ละชนิด เพื่อเลือกสื่อให้ตรงกับวัตถุประสงค์การสอนและสามารถจัดประสบการณ์การเรียนรู้ให้แก่ผู้เรียนโดยมีต้องมีการวางแผนอย่างเป็นระบบในการใช้สื่อด้วย


( เปรื่อง กุมุท ; 2519: 1 ) กล่าวว่าสื่อการสอน วัสดุอุปกรณ์ต่างๆ ที่ใช้เป็นเครื่องมือหรือช่องทางที่ทำให้การสอนของครูถึงนักเรียน และทำให้ผู้เรียนเรียนรู้ตามจุกประสงค์จะส่งหรือถ่ายทอดไปยังผู้เรียนได้อย่างมีประสิทธิภาพ


( ชัยยงค์ พรหมวงศ์ ; 2544 : 25 ) ให้ความหมาย สื่อการสอนว่า วัสดุอุปกรณ์และวิธีการประกอบการสอนเพื่อใช้เป็นสื่อกลางในความสื่อความหมาย ที่ผู้สอนประสงค์จะส่งหรือถ่ายทอดไปยังผู้เรียนได้อย่างมีประสิทธิภาพ


( ไชยยศ เรืองสุวรรณ ; 2526: 4 ) กล่าวว่าสื่อการสอน หมายถึง สิ่งที่ช่วยให้การเรียนรู้ ซึ่งครูและนักเรียนเป็นผู้ใช้เพื่อการเรียนการสอนมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น


( คณะนิสิตปริญญาโท ,มศว.ประสานมิตร ; 2519 ) ได้ให้คำจำกัดความว่า “สื่อการสอน” หมายถึงสิ่งต่างๆที่ใช้เป็นเครื่องมือหรือช่องทางสำหรับการถ่ายทอดหรือนำความรู้หรือประสบการณ์ไปสู่ผู้เรียนและทำให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ตามวัตถุประสงค์


( บราวน์ และคณะ ; 1964: 584 ) จาก http://lerners.in .the/biog/stdnnu กล่าวว่าสื่อการสอน หมายถึง จำพวกอุปกรณ์ทั้งหลายที่สามารถช่วยเสนอความรู้ให้แก่ผู้เรียนจนเกิดผลการเรียนที่ดี ทั้งนี้ความหมายรวมถึงกิจกรรมต่างๆไม่เฉพาะแต่สิ่งที่เป็นวัตถุหรือเครื่องมือเท่านั้น เช่น การศึกษานอกสถานที่ การแสดงบทบาท นาฎการ การสาธิต การทดลองตลอดจนการสัมภาษณ์และสำรวจ
จากความหมายดังกล่าว สรุปได้ว่า “สื่อการสอน” หมายถึงตัวกลางที่ช่วยนำและถ่ายทอดข้อมูลความรู้จากผู้สอนหรือจากแหล่งความรู้ไปยังผู้เรียน ช่วยให้การเรียนรู้การสอนดำเนินไปอย่างสะดวกและมีประสิทธิภาพและทำให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ตามวัตถุประสงค์ของการเรียนการสอนที่ตั้งไว้

เทคโนโลยีสารสนเทศ มีบทบาทในการศึกษามีอะไรบ้างและแต่ละอย่างเป็นอย่างไร

7. เทคโนโลยีสารสนเทศ มีบทบาทในการศึกษามีอะไรบ้างและแต่ละอย่างเป็นอย่างไร

เทคโนโลยีสารสนเทศได้เข้ามามีบทบาททางการศึกษาเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะเทคโนโลยีทางคอมพิวเตอร์และการสื่อสารโทรคมนาคมมีบทบาทที่สำคัญต่อการพัฒนาการ ศึกษาเทคโนโลยีที่มีบทบาทสำคัญต่อการศึกษาประกอบด้วย

1. เทคโนโลยีที่เข้ามามีส่วนช่วยในเรื่องการเรียนรู้ ปัจจุบันมีเครื่องมือเครื่องใช้ที่ช่วยการสนับสนุนการเรียนรู้หลายอย่าง มีระบบคอมพิวเตอร์ช่วยสอน CAT มีระบบมัลติมีเดีย Multimedia ระบบวีดีโอออนนดีมานด์ Video on Demand วีดีโอเทเลคอนเฟอเรนซ์ Video Teleconference และอินเตอร์เน็ต Internet เป็นต้น ระบบเหล่านี้เป็นระบบสนับสนุนการรับรู้ข่าวสารและการค้นหาข้อมูลเพื่อการเรียนรู้

2. เทคโนโลยีที่เข้ามาสนับสนุนการจัดการศึกษาในการจักการศึกษาสมัยใหม่ จำเป็นต้องอาศัยข้อมูลข่าวสารเพื่อการวางแผนการดำเนินการ การติดตามและประเมินผลคอมพิวเตอร์และระบบสื่อสารโทรคมนาคมเข้ามามีบทบาท

3. การศึกษาทางไกล เป็นการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศช่วยในการจัดรูปแบบการศึกษาทางไกล โดยให้ผู้สอนและผู้เรียนสามารถสื่อสารผ่านเทคโนโลยีสารสนเทศได้ทันท

4. เครือข่ายการศึกษา เป็นการแบ่งหรือจัดกลุ่มเครือข่ายเพื่อการศึกษาเพื่อให้ครูอาจารย์และผู้เรียนได้มีโอกาสใช้เครือข่ายคอมพิวเตอร์เพื่อการแสวงหาความรู้บนโลกที่ไร้พรมแดน เช่น บริการรับ – ส่งไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ การเผยแพร่และค้นหาข้อมูลในระบบ (world wide web : www) โดยกลุ่มเครือข่ายของมหาวิทยาลัยของรัฐและเอกชนที่ดูแลโดยทบวงมหาวิทยาลัย ส่วนโรงเรียนระดับมัธยมศึกษาและประถมศึกษาจะมีเครือข่ายสคูลเน็ต (SohoolNet) ดูแลโดยเนคเทค เป็นการส่งเสริมและขยายโอกาสในการเรียนรู้ของนักเรียนและประชาชน โดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการใช้สารสนเทศ

5. การใช้งานในห้องสมุด ห้องสมุดในทุกสถาบันการศึกษาได้มีการนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ในการบริการเสริมสร้างบริการต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นการบริการค้นหาข้อมูล บริการยืม – คืน ทั้งสื่อที่เป็นหนังสือ หนังสือพิมพ์ วารสารและนิตยสาร นอกจากนี้ยังบริการสืบค้นข้อมูลหนังสือผ่านเว็ปไซต์

6. การใช้ห้องปฏิบัติการทางการศึกษาเทคโนโลยีสารสนเทศ โดยเฉพาะคอมพิวเตอร์จะมีการฝึกปฏิบัติจึงต้องมีห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ไว้ให้บริการ เช่น นักศึกษาสาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ จะมีการฝึกเขียนโปรแกรมหรือมีการสอบผ่านเครื่องในห้องที่สาขาวิชากำหนดหรือใช้ปฏิบัติการ เป็นต้น

7. การใช้งานประจำและงานบริหาร เช่น การจัดทำทะเบียนประวัติของนักศึกษา การลงทะเบียนเรียน การแสดงผลการเรียน ล้วนแต่สามารถใช้เทคโนโลยีสารสนเทศมาประยุกต์ใช้งานได้ดีกว่า นอกจากนี้ยังมีการพัฒนาให้สามารถมีการสืบค้นหรือแสดงผลสารสนเทศภายในสถาบันได้

ดังนั้น เทคโนโลยีสารสนเทศ จึงมีบทบาทและสำคัญมากในปัจจุบันแนวโน้มที่จะมีบทบาทมากยิ่งขึ้นในอนาคต เพราะเทคโนโลยีเป็นเครื่องมือในการดำเนินงานสารสนเทศให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ นับตั้งแต่การผลิต การจัดเก็บ การประมวลผล การเรียกใช้ การสื่อสารสารสนเทศการแลกเปลี่ยนและการใช้ทรัพยากรสารสนเทศร่วมกันทำให้เกิดความสำคัญของเทคโนโลยีสารสนเทศ

เทคโนโลยีสารสนเทศ หมายถึง

6. เทคโนโลยีสารสนเทศ หมายถึง
เทคโนโลยีสารสนเทศ information technology: IT หมายถึง การนำเทคโนโลยีมาใช้งานที่เกี่ยวกับการประเมินผลข้อมูลเพื่อให้ได้สารสนเทศ ซึ่งเทคโนโลยีที่ใช้เป็นการผสมผสานระหว่างเทคโนโลยีทางคอมพิวเตอร์กับเทคโนโลยีในการสื่อสารเพื่อช่วยในการสื่อสาร และการส่งผ่านข้อมูลและสารสนเทศได้สะดวกรวดเร็วมากขึ้น

(เทคโนโลยีสารสนเทศ; 2550:3 ) ได้ให้ความหมายว่า เทคโนโลยีสารสนเทศ คือ เทคโนโลยีในการนำคอมพิวเตอร์มาใช้งานจัดการกับข้อมูล ข่าวสาร หรือที่เรียกว่า สารสนเทศ ศาสตร์ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศเป็นศาสตร์ที่ใหม่มาก และมีความสำคัญมากในปัจจุบัน และถือเป็นหนึ่งในสามศาสตร์หลัก เทคโนโลยีสารสนเทศ , เทคโนโลยีนาโน , เทคโนโลยีชีวภาพ ที่ถูกกล่าวว่าจะมีผลต่อสังคมในอนาคตมากที่สุด ดังนั้นการจัดการข้อมูลสารสนเทศที่เกิดจากคอมพิวเตอร์เหล่านี้จึงเป็นสิ่งสำคัญมาก นอกจากนี้การบริหารจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศภายในบริษัทก็เป็นสิ่งสำคัญอีกอย่างหนึ่ง จะเห็นได้ว่าบริษัทหนึ่งหรือองค์กรใหญ่จำเป็นต้องมีหน่วยงานด้านการจัดระบบสารสนเทศ

(วีระศักดิ์ สอนอาจ ; http//:teacther.skw.at.th ) ได้ให้ความหมายว่า เทคโนโลยีสารสนเทศ หมายถึง เทคโนโลยีที่ใช้จัดการสารสนเทศ เป็นเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องตั้งแต่การรวบรวม การจัดเก็บข้อมูล การประมวลผล การพิมพ์ การสร้างรายงาน การสื่อสารข้อมูล ฯลฯ เทคโนโลยีสารสนเทศยังรวมถึงเทคโนโลยีทำทำให้เกิดระบบบริการ การใช้และการดูแลข้อมูลด้วย

(ยืน ภู่วรรรณ ; 2546:45 ) ได้ให้ความหมายว่า เทคโนโลยีสารสนเทศ หมายถึง อุปกรณ์หรือเครื่องมือที่เกี่ยวข้องกับการรวบรวมประมวลผล เก็บรักษา และเผยแพร่ข้อมูล และสารสนเทศโดยรวมทั้งฮาร์ด แวร์ ซอฟต์แวร์ ฐานข้อมูล และการสื่อสาร โทรคมนาคม ระบบสารสนเทศสร้างขึ้นมาเพื่อจุดหมายหลาประการ จุดหมายพื้นฐานประการหนึ่งคือ การประมวลข้อมูล Data ให้เป็นสารสนเทศ Information และนำไปสู่ความรู้ Knowledge ที่ช่วยแก้ปัญหาในการดำเนินงาน

จากความหมายดังกล่าว สรุปได้ว่า เทคโนโลยีสารสนเทศ หมายถึง การนำเครื่องมืออุปกรณ์ซึ่งประกอบด้วยเทคโนโลยีทางคอมพิวเตอร์มาใช้ในการรับส่งข้อมูลข่าวสารเพื่อช่วยแก้ปัญหา ในการทำงานให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นและเพื่อความสะดวกสบายในการติดต่อการทำงานด้วย

เทคโนโลยี หมายถึงอะไร

5. เทคโนโลยี หมายถึงอะไร
พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2525 ได้ให้ความหมายของเทคโนโลยีว่า หมายถึง วิทยาการที่เกี่ยวกับศิลปะในการนำเอาวิทยาศาสตร์มาประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์ในทางปฏิบัติและอุตสาหกรรม
ลักษณะของเทคโนโลยีสามารถจำแนกออกได้เป็น 3 ลักษณะ คือ
1. เทคโนโลยีในลักษณะของกระบวนการ process เป็นการใช้อย่างมีระบบของวิธีการทางวิทยาศาสตร์หรือความรู้ต่างๆ ที่ได้รวบรวมไว้เพื่อนำไปสู่ผลในทางปฏิบัติ
2. เทคโนโลยีในลักษณะของผลผลิต product หมายถึงวัสดุและอุปกณ์ที่เป็นผลมาจากการใช้กระบวนการทางเทคโนโลยี
3. เทคโนโลยีในลักษณะของการผสมของกระบวนการและผลผลิต process and product เช่นระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งมีการทำงานปฎิสัมพันธ์ระหว่างตัวเครื่องกับโปรแกรม

Technologe” มีรากศัพท์มาจากภาษาลาติน คือ Texere หมายถึง to weave หรือ to construct ซึ่งไม่เกี่ยวกับเครื่องจักรที่คิดกันในปัจจุบัน แต่หมายถึง paactical art ที่ใช้ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ช่วย (เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการเรียนรู้ตลอดชีวิต ; 2550:2)

(วีระศักดิ์ สอนอาจ; http://teacher.skw.ac.th) ได้ให้ความหมายว่าเทคโนโลยี หมายถึง การประยุกต์เอาความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์มาใช้ให้เกิดประโยชน์กับการพัฒนาองค์ความรู้ต่างๆ ก็เพื่อเข้าใจธรรมชาติกฎเกณฑ์ของสิ่งต่างๆและหาทางนำมาประยุกต์ให้เกิดประโยชน์เทคโนโลยีจึงเป็นความหมายที่กว้างขวาง
(ชัยยงศ์ พรหมวงศ์ ; มิติที่3 2520:25 ) เขียนไว้ในหนังสือมิติที่ 3 ตามรูปแบบศัพท์ภาษาอังกฤษ เทคโนโลยี หมายถึง ศาสตร์ที่ว่าด้วยวิธีการ เทคโนโลยีที่แท้จริงเป็นกระบวนการ วิธีการหลักการ และสิ่งประดิษฐ์ซึ่งอยู่ในรูปของการจัดระบบงาน

(ครรชิต มาลัยวงศ์ ; 2539:25 ) ได้ให้ความหมายคำว่าเทคโนโลยี หมายถึง ทุกสิ่งทุกอย่างที่เกี่ยวกับการผลิตการสร้าง และใช้สิ่งของกระบวนการหรืออุปกรณ์ที่ไม่ได้มีในธรรมชาตินั่นเอง
(สุทิพย์ กาญจนพันธุ์ ; 2541:215) ได้ให้ความหมายว่า เทคโนโลยี หมายถึง วิธีการอย่างมีระบบในการวางแผน การประยุกต์ใช้และการประเมินกระบวนการเรียนการสอนทั้งระบบ โดยให้ความสำคัญต่อทั้งด้านเครื่องมือทรัพยากรมนุษย์ และปฏิสัมพันธ์ที่เกิดขึ้นระหว่างมนุษย์กับเครื่องมือเพื่อจะได้รูปแบบการศึกษาที่มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น

เทคโนโลยี เป็นการนำเอาความคิด หลักการเทคนิค ความรู้ ระเบียบวิธีกระบวนการ ตลอดจนผลผลิต ทางวิทยาศาสตร์ทั้งในด้านสิ่งประดิษฐ์และวิธีปฏิบัติมาประยุกต์ใช้ในระบบงานเพื่อช่วยให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในการทำงานให้ดียิ่งขึ้นและเพิ่มประสิทธิภาพและประสิทธิผลของงานให้ดีมากยิ่งขึ้น

นวัตกรรมทางการศึกษา คืออะไร

4.นวัตกรรมทางการศึกษา คืออะไร
ในวงการหรือกิจกรรมใดๆ ก็ตามเมื่อมีการนำเอาความเปลี่ยนแปลงใหม่ๆเข้ามาใช้ปรับปรุงงานให้ดีขึ้นกว่าเดิม หรือมุ่งจะให้ตนมีประสิทธิภาพสูงเรียกได้ว่า เป็นนวัตกรรมของวงการนั้นๆ เช่น วงการศึกษาได้นำเอามาใช้ เรียกว่า “นวัตกรรมทางการศึกษา” Educational Innovation

(เปรื่อง กุมุท ; 2519:141) ได้ให้แนวคิดเกี่ยวกับนวัตกรรมการศึกษาเอาไว้ 5 ลักษณะด้วยกัน คือ
1. ความคิดหรือการกระทำใหม่นั้นโดยอาจจะเก่ามาจากที่อื่น แต่ในสถานการณ์ปัจจุบันนี้เป็นการเหมาะสมที่จะนำมาใช้กับการเรียนการสอนของเรา เช่น การสอนเป็นทีม การเรียนจากเครื่องช่วยสอน
2. ความคิดหรือการกระทำใหม่นั้นทั้งที่ครั้งหนึ่งเคยนำมาใช้แล้ว แต่บังเอิญไม่เกิดผลเพราะสิ่งแวดล้อมไม่อำนวย ขาดสิ่งนั้นขาดสิ่งนี้จนต้องเลิกไปพอมาถึงเวลานี้ระบบต่างๆ พร้อมจึงนำความคิดนั้นมาใช้ซึ่งเรียกว่า นวัตกรรมหรือของใหม่
3. ความคิดหรือการกระทำนั้น เพราะมีสิ่งใหม่ๆเข้ามาพร้อมๆกับความคิดที่จะกระทำอะไรบางอย่างพอดี และมองเห็นว่าการใช้สิ่งเหล่านั้นสามารถจะช่วยแก้ปัญญาทางการศึกษา หรือทำให้การดำเนินทางการศึกษาไปสู่เป้าหมายที่ต้องการได้อย่างดี นี่คือความหมายที่แท้จริงของนวัตกรรมทางการศึกษา
4. ความคิดหรือการกระทำนั้นใหม่ เพราะครั้งหนึ่งเคยถูกทัศนคติของผู้ใหญ่หรือผู้บริหารบดบังไว้ ตอนนี้เปลี่ยนผู้ใหญ่หรือผู้บริการ
5. ความคิดและการกระทำใหม่ เพราะยังไม่เคยคิดและทำมาเลยในโลกนี้ เพิ่งจะมีใครคนหนึ่งคิดได้เป็นคนแรกและเห็นว่าน่าจะใช้ได้ก็นำมาใช้

(http://www.kmutt.ac.th ) นวัตกรรมทางการศึกษาหมายถึง ความคิดและวิธีการปฏิบัติใหม่ๆ ที่ส่งเสริมให้กระบวนการทางการศึกษามีประสิทธิภาพ
ข้อสังเกตเกี่ยวกับสิ่งที่ถือว่าเป็นนวัตกรรม
· เป็นความคิดหรือกระบวนการกระทะใหม่ทั้งหมดหรือปรับปรุงดัดแปลงจากสิ่งที่เคยมีมาก่อน
· ความคิดหรือการกระทำนั้นมีการพิสูจน์ด้วยการวิจัยและช่วยให้การดำเนินงานมีประสิทธิภาพสูงขึ้น
· มีการนำวิธีการระบบมาใช้อย่างชัดเจนโดยพิจารณาองค์ประกอบทั้ง 3 ส่วน คือ ข้อมูล กระบวนการ และผลลัพธ์

· ยังไม่เป็นส่วนหนึ่งของระบบงานในปัจจุบัน
จากความหมายดังกล่าว สรุปได้ว่า “นวัตกรรมการศึกษา” เป็นนวัตกรรมที่นำมาใช้ในวงการศึกษาเพื่อให้การเรียนการสอนมีสิ่งใหม่ๆ ซึ่งอาจจะอยู่ในรูปของความคิดหรือการกระทำ รวมทั้งสิ่งประดิษฐ์ก็ตามมาใช้ ผู้เรียนสามารถเกิดการเรียนรู้ได้อย่างรวดเร็วมีประสิทธิภาพสูงกว่าเดิมเกิดแรงจูงใจในการเรียนและประหยัดเวลา เพื่อที่จะมุ่งหวังที่จะเปลี่ยนแปลงระบบการศึกษาให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น